"คะตะกะนะ"

คะตะกะนะ (ญี่ปุ่น: 片仮名, カタカナ katakana ) เป็นตัวอักษรสำหรับแทนเสียงในภาษาญี่ปุ่นประเภทหนึ่ง คะตะกะนะถูกนำไปเขียนภาษาไอนุซึ่งเป็นภาษาของชนกลุ่มน้อยอยู่ทางภาคเหนือของเกาะฮอกไกโด
การใช้
---คะตะกะนะมีสัญลักษณ์ 48 ตัว ในยุคแรกรู้จักในนาม การเขียนของผู้ชาย คะตะกะนะใช้กับคำยืมที่ไม่ได้มาจากภาษาจีนเป็นส่วนใหญ่ รวมทั้งการเลียนเสียง ชื่อจากภาษาอื่น การเขียนโทรเลข และการเน้นคำ (แบบเดียวกับการใช้อักษรตัวใหญ่ในภาษาอังกฤษ) ก่อนหน้านั้นคำยืมทั้งหมดเขียนด้วยคันจิ ใช้ในหลายกรณี ได้แก่
ใช้เขียนคำที่ยืมมาจากภาษาต่างประเทศ ชื่อชาวต่างประเทศ และชื่อสถานที่ในต่างประเทศซึ่งเป็นวิสามานยนาม เช่น ホテル (โฮะเตะรุ หรือ Hotel)
ใช้เขียนคำซึ่งเลียนเสียงในธรรมชาติ เช่น ワン ワン (วัง วัง เสียงเห่าของสุนัข)
ใช้เขียนชื่อญี่ปุ่น (和名) ของสัตว์และแร่ธาตุ เช่น カルシウム (คารุซิอุมุ หรือ แคลเซียม)
ใช้ในเอกสารใช้ยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง (ใช้ร่วมกับตัวอักษรคันจิ)
ใช้ในโทรเลข และระบบคอมพิวเตอร์ในช่วงก่อนเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2531 ซึ่งยังไม่มีการใช้ระบบตัวอักษรหลายไบต์ (เช่น ยูนิโคด)
ที่มาของคะตะกะนะจากอักษรจีน ตัวอักษรคะตะกะนะนั้นถูกสร้างขึ้นในยุคเฮอัน (平安時代) โดยนำมาจากส่วนหนึ่งของตัวคันจิพัฒนามาจาก อักษรจีนที่ใช้โดยพระภิกษุเพื่อแสดงการออกเสียงอักษรจีนที่ถูกต้องเมื่อประมาณ พ.ศ. 1400 ในช่วงแรกมีสัญลักษณ์หลายตัวที่แสดงเสียงเดียวกัน แต่เมื่อเวลาผ่านไป อักษรถูกปรับปรุงให้ดีขึ้น ราว พ.ศ. 1900 มีสัญลักษณ์ 1 ตัว ต่อ 1 พยางค์เท่านั้น คำว่า คะตะกะนะ หมายถึงอักษรพยางค์ที่เป็นส่วน (ของคันจิ)
การใช้
---คะตะกะนะมีสัญลักษณ์ 48 ตัว ในยุคแรกรู้จักในนาม การเขียนของผู้ชาย คะตะกะนะใช้กับคำยืมที่ไม่ได้มาจากภาษาจีนเป็นส่วนใหญ่ รวมทั้งการเลียนเสียง ชื่อจากภาษาอื่น การเขียนโทรเลข และการเน้นคำ (แบบเดียวกับการใช้อักษรตัวใหญ่ในภาษาอังกฤษ) ก่อนหน้านั้นคำยืมทั้งหมดเขียนด้วยคันจิ ใช้ในหลายกรณี ได้แก่
ใช้เขียนคำที่ยืมมาจากภาษาต่างประเทศ ชื่อชาวต่างประเทศ และชื่อสถานที่ในต่างประเทศซึ่งเป็นวิสามานยนาม เช่น ホテル (โฮะเตะรุ หรือ Hotel)
ใช้เขียนคำซึ่งเลียนเสียงในธรรมชาติ เช่น ワン ワン (วัง วัง เสียงเห่าของสุนัข)
ใช้เขียนชื่อญี่ปุ่น (和名) ของสัตว์และแร่ธาตุ เช่น カルシウム (คารุซิอุมุ หรือ แคลเซียม)
ใช้ในเอกสารใช้ยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง (ใช้ร่วมกับตัวอักษรคันจิ)
ใช้ในโทรเลข และระบบคอมพิวเตอร์ในช่วงก่อนเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2531 ซึ่งยังไม่มีการใช้ระบบตัวอักษรหลายไบต์ (เช่น ยูนิโคด)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น